การสักกึ่งการแพทย์แตกต่างจากการสักลายอย่างไร?
มีกระบวนการที่คล้ายกันแต่มีขั้นตอนและวิธีการที่แตกต่างกันเพราะ การสักลายคือ
การสักลงบนบริเวณผิวที่ปกติเพื่อมีสีสันสดใสคมชัดเป็นลวดลายศิลปะ ส่วนการสักกึ่งการแพทย์คือ
การสักลงบนผิวที่มีความผิดปกติเพื่ออำพรางข้อบกพร่องให้ดูกลมกลืนกับบริเวณผิวปกติ
ทำให้มีความชำนาญเฉพาะทางที่แตกต่างกัน
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการปรับเปลี่ยนสีผิว จะมีเทคนิคที่สำคัญในการสักลงบนบริเวณข้อบกพร่องของผิวซึ่งการสักลงบนผิวหนังที่มีปัญหานั้นต้องใช้เทคนิคที่ถูกต้องกับชนิดของแผลที่ต้องประเมินจากลักษณะของข้อบกพร่อง ที่ต้องใช้เทคนิคเฉพาะตัวที่แตกต่างกันในแต่ละครั้ง
ผู้ที่ไม่เคยผ่านการอบรมการสักกึ่งการแพทย์ใช้ประสบการณ์จากการสักลาย บางคนที่ใช้หมึกสักสีขาวสักลงบนผิวหนังจุดประสงค์เพื่อให้สีผิวบริเวณนั้นขาวขึ้น ซึ่งวิธีนี้ไม่สามารถทำให้ได้ผลให้ผิวขาวขึ้นได้สิ่งที่เกิดขึ้นคือในช่วง 7วันแรก สีผิวบริเวณนั้นจะมีสีขาวขึ้นมานวลๆแต่หลังจากนั้นสีขาวจะค่อยๆหลุดออกและจะเปลี่ยนเป็นเงาสีเทาทั่วบริเวณ
หากใครเคยได้รับผลลัพธ์แบบนี้ระวังว่าอย่าไปใช้เลเซอร์เพื่อลบออก เพราะในส่วนผสมของหมึกสีขาว จะมี Titanium dioxide อยู่มากและหากคุณเกิดใช้เลเซอร์ลบออกนั้นส่วนประกอบนั้นจะทำปฏิกิริยายากับเลเซอร์และจะเปลี่ยนเป็นสีดำเทาขึ้นมาทันที
ข้อควรระวัง ไม่ควรใช้เลเซอร์ลบหมึกสีขาวเพราะจะกลายเป็นสีดำ?
▬ การสักกึ่งการแพทย์คือ ขั้นตอนการเตรียมผิวให้พร้อมก่อนการสัก การใส่สีซ้ำๆกันทุกครั้งนั้นเป็นเรื่องที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะนอกจากมันจะไม่ช่วยอำพรางผิวแล้ว แต่มันจะทำให้เม็ดสีเข้มขึ้นดูเห็นเป็นวงเด่นชัดขึ้น
▬ เพราะการสักลงบนบริเวณผิวที่ผิดปกตินั้น จะมีเนื้อเยื่อแผลเป็นที่สร้างมาจากความผิดปกติของผิวบริเวณนั้นทำให้พังผืดดึงรั้งเลยทำให้ไม่จับเม็ดสี
โปรดระวัง การสักทับกันซ้ำๆไม่สามารถอำพรางข้อบกพร่องได้แต่มันจะทำให้เด่นชัดยิ่งขึ้น
จะหายเมื่อไร?
ขั้นอยู่กับกระบวนการรักษาตัวของผิวในแต่ละคนและข้อบกพร่องแต่ละชนิด คนแต่ละคนเข้าสู่กระบวนการรักษาตัวไม่เท่ากัน คนส่วนมากใช้เวลา 5 วัน ให้แผลหายแดง แต่หลังจาก 4-8สัปดาห์ไปแล้วเท่านั้น ถึงจะเห็นสีผลลัพธ์ที่แท้จริง
ทำความเข้าใจกับการสักกึ่งการแพทย์
▬ การสักกึ่งการแพทย์คือการสักบนผิวที่ผ่านการกรีดหรือเย็บจึงไม่สามารถทำให้เสร็จจบภายในครั้งเดียวได้
▬ ควรรับบริการอย่างน้อย 3ครั้ง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
▬ การสักกึ่งการแพทย์ไม่ใช่การสักเพียงอย่างเดียวแต่คือการปรับสภาพผิวให้พร้อมก่อนการสัก
▬ การสักกึ่งการแพทย์นั้นไม่สามารถทำให้ผิวกลับมาเหมือนดั่งเดิม แต่คุณจะเห็นการพัฒนาที่ดีขึ้นดูกลมกลืนกับผิวคุณขึ้นมาก
▬ การสักแต่ละครั้งควรเว้นระยะให้ห่างกัน 4-8 สัปดาห์เพราะผิวที่สักไปแล้วนั้นยังคงอยู่ในกระบวนการรักษาตัว จึงทำให้สีที่สักไปยังมีสีเข้มอยู่ ไม่สามารถเห็นผลลัพธ์ของสีที่ถูกต้อง
▬ ใช้เทคนิคเฉพาะทางในการปรับแต่งสีที่ใช้ฝังให้อ่อนลงหรือเข้มขึ้นด้วยเทคนิคเฉพาะทางโดยไม่ต้องใช้เครื่องเลเซอร์
▬ สีผิวบริเวณที่สักจะเข้มกว่าปกติมากไม่ต้องตกใจสีสักจะจางลง 40%
▬ หากคุณตากแดดเป็นเวลานานสีที่สักไปจะไม่เข้มขึ้นไปพร้อมกับผิวส่วนอื่น
▬ หากคุณใช้ยาสเตียรอยด์ทาบนบริเวณที่จะสัก จะทำให้ไม่ติดบริเวณนั้น
▬ ข้อบกพร่องทางผิวหนังบางชนิดเหมาะกับการรักษาด้วยเลเซอร์หรือปรึกษาแพทย์ผิวหนัง
การฝังสีกึ่งการแพทย์สามารถช่วยอำพรางข้อบกพร่องของผิวหนังต่างๆดังนี้
● แผลเป็นจากการผ่าตัด
● แผลจากอุบัติเหตุ
● แผลจากสิว
● แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
● แผลจากการปลูกผม
● แผลวงดำ
● แผลวงขาว
● แผลดูดไขมัน
● รอยแตกลาย
● โรคผมร่วง
● ฝ้า,กระ,กระผู้สูงอายุ
● ปากแหว่ง
● สีผิวที่ไม่เท่ากัน (ขาหนีบ,แก้มก้น,หลังคอ)
● ฝังสีเสริมสร้างลานนม 3D หลังจากการผ่าตัด Mastectomy
● ฝังสีให้หัวนม ลานนมสมบูรณ์ขึ้น (หลังจากการผ่าตัดหน้าอก)
● ฝังสีหัวนมชมพู
● รอยแผลทำร้ายตัวเอง
● รอยดำจากยุงกัด
● ปรับสีผิวหลังจากการปลูกถ่ายผิวหนัง
การสักกึ่งการแพทย์ไม่เหมาะสมกับคุณหากคุณมีอาการดังกล่าวนี้
● แผลมีอายุต่ำกว่า 10 เดือน
● ผู้ที่เพิ่งฉีด Botox หรือ Filler ลงบนผิวนั้นต่ำกว่า 4 เดือน
● คนที่เป็นคีลอยด์ได้ง่าย
● สตรีที่กำลังตั้งครรภ์
● มีโรคติดต่อ
● เป็นเบาหวาน
● คนที่ผิวแพ้ง่าย
● คนที่มีอาการป่วยชักกระตุก